วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สัญญาการจ้างและจ้างทำของ

กฎหมายจ้างแรงงานและกฎหมายจ้างทำของ

กฎหมายจ้างแรงงาน

ตามหลักกฎหมายจ้างแรงงานมาตรา 586 แยกเป็น 2 ฝ่ายคือ นายจ้างกับลูกจ้าง

นายจ้าง คือ ผู้ตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายเงินค่าจ้างเป็นสินทดแทน

ลูกจ้าง คือ ผู้ที่ได้รับเข้าทำงานตามที่นายจ้างมอบหมาย

ลักษณะการจ้างนั้น นายจ้างสามารถที่จะบังคับ บัญชา และสั่งการลูกจ้างได้ ส่วนในการจ่ายค่าตอบแทนการจ้างแรงงานนั้นต้องเป็นเงินของนายจ้างนำมาให้แก่ลูกจ้าง แต่ถ้าเป็นเงินของบุคคลอื่นที่มิใช่เงินของนายจ้าง แม้ว่าจะนำมาจ่ายให้แก่ลูกจ้างก็ไม่ถือว่าเป็นค่าจ้าง

ฎีกาที่ 4032 / 2524 เงินเพิ่มตามวุฒิและค่าครองชีพที่ครูของโรงเรียนเอกชนได้รับนั้นจ่ายจากกระทรวงศึกษาธิการไม่ใช่นายจ้าง เพราะไม่ใช่เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ส่วนเรื่องระยะเวลาการจ้างนั้นจะมีการทำสัญญาการจ้าง ว่านานเท่าไร กี่ปี กี่เดือน สามารถที่จะระบุ หรือกำหนดว่า เป็นลูกจ้างประจำ รวมไปถึงหน้าที่ในข้อนี้ด้วย นายจ้างจะต้องปฏิบัติตามขอกฎหมายแรงงานด้วย

จากข้างต้นที่พูดไปแล้วเป็นสิทธิและหน้าที่ของลูกจ้างมาพูดถึงนางจ้างกับบ้าง นายจ้างมีหน้าที่จ่ายเงินให้แก่ลูกจ้าง และต้องจ่ายค่าจ้างตามที่ตกลงกันไว้ รวมไปถึงนายจ้างสามารถที่จะออกใบผ่านงานให้แก่ลูกจ้าง

มอบหมายงานให้แก่ลูกจ้างทำ ดูผลของงานและออดระเบียบการ แต่อย่างไรนั้นก็ต้องอยู่ใต้กฎหมายด้วย

การบอกเลิกสัญญาการจ้าง คือ ขึ้นอยู่กับลูกจ้างและนายจ้างได้ทำสัญญากันไว้ โดยมีเอกสารเป็นตัวกำหนดสัญญานั้น

การจ้างทำของ

ลักษณะของการจ้างทำของคือ ทั้งสองฝ่ายต้องตกลงกันในการทำสัญญา ที่เป็นเอกสารกำกับ เช่น

ฎีกาที่ 3497/2528 บ้านโจทย์ชำรุดเกิดการเสียหายการก่อสร้างแบบหลักหลวม ซึ่งเป็นผลการกระทำของจำเลย จำเลยต้องรับผิดชอบ

การระงับสัญญาการจ้าง กรณีที่นายจ้างกระทำผิดต่อสัญญา ไม่หาสัมภาระตามที่กำหนด ผู้รับจ้างสามารถบอกเลิกจ้างได้

กรณีที่สอง ผู้รับจ้างต้องการจะเลิกจ้างสัญญาแม้ผู้ว่าจ้างจะไม่ผิดสัญญาหากได้จ่ายค่าสินไหมทดแทน ความเสียหายในเรื่องเกิดการจ้าง ในมาตรา 605

OK นัดดา

1 ความคิดเห็น:

  1. ตัวอย่างจ้างแรงงานน่าสนใจดีจัง ค่ะ ขอบคุณที่เอามาเล่าต่อ ๆ กัน

    ตอบลบ