วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553

ฝากทรัพย์

สัญญาฝากทรัพย์

ฝากทรัพย์เป็นสัญญาอีกชนิดหนึ่งที่พบเห็นแพร่หลายในสังคม การที่เอาทรัพย์สินไปฝากไว้กับผู้อื่นเนื่องมาจากสาเหตุหลายประการ เช่น ผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินนั้นไม่อาจจะดูแลรักษาทรัพย์สินนั้นเป็นการชั่วคราวเพราะต้องเดินทางไกล หรือเนื่องจากตนไม่สามารถจะให้ความคุ้มครองป้องกันทรัพย์สินให้ปลอดภัยได้ จึงต้องฝากบุคคลอื่นซึ่งมีมาตรการในการรักษาความปลอดภัยที่ดีกว่า เช่นนำรถยนต์ไปฝากสถานรับบริการฝากรถ เป็นต้น ในปัจจุบันการฝากทรัพย์ไม่ใช่เรื่องที่ทำด้วยอัธยาศัยไมตรีเหมือนในอดีต ที่มีการฝากระหว่างเครือญาติพี่น้องหรือเพื่อนฝูง หากแต่เป็นการกระทำในรูปธุรกิจการรับฝากทรัพย์สินเป็นการเฉพาะ และกำลังเป็นที่นิยมแพร่หลาย เช่น การรับฝากรถยนต์ การรับฝากสินค้าทางการเกษตร เป็นต้น

โดยสภาพของการรับฝากทรัพย์นั้น ย่อมเป็นการก่อให้เกิดความผูกพันแก่ผู้รับมอบทรัพย์ หรือผู้รับฝาก จะต้องดูแลรักษาทรัพย์ที่ตนรับไว้ให้มีความปลอดภัย ไม่ให้เกิดการสูญหายหรือบุบสลายได้และจะต้องส่งคืนทรัพย์ที่รับมอบไว้โดยทันทีที่ผู้ฝากหรือผู้ส่งมอบทรัพย์เรียกให้ส่งคืนทรัพย์นั้น จึงกล่าวได้ว่าการฝากทรัพย์ก่อให้เกิดประโยชน์ฝ่ายเดียวแก่ผู้ฝากหรือผู้ส่งมอบทรัพย์โดยแท้ ในขณะที่ผู้รับฝากหรือผู้รับมอบทรัพย์มีภาระต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ในกรณีทรัพย์ที่รับฝากหรือที่ได้รับมอบเกิดการสูญหาย หรือบุบสลาย โดยที่อาจได้รับบำเหน็จค่ารับฝากหรือค่าตอบแทนเพียงเล็กน้อยแล้วแต่ตกลงกัน

ตามกฎหมายเก่าของไทย ปรากฏในพระอัยการเบ็ดเสร็จ แห่งกฎหมายตราสามดวง ได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยฝากทรัพย์ 9 มาตรา เนื้อหาสาระโดยรวม สัญญาฝากทรัพย์เดิมเป็นสัญญาที่ทำให้เปล่าไม่มีการเรียกค่าตอบแทนในการรับฝากแต่อย่างใด เป็นเรื่องอัธยาศัยไมตรีต่อกันเป็นสำคัญ ได้มีการวางหลักความรับผิดในกรณีผู้รับฝากได้เอาทรัพย์ที่รับฝากไปเสีย หรือไม่ยอมส่งคืน หรือคืนไม่ตรงตามจำนวนที่ฝาก ปัจจุบันประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้

ลักษณะสัญญาฝากทรัพย์

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 657 บัญญัติว่า อันว่าฝากทรัพย์นั้นคือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ฝาก ส่งมอบทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับฝาก และผู้รับฝากตกลงจะเก็บรักษาทรัพย์สินนั้นไว้ในอารักขาแห่งตน แล้วจะคืนให้จากบทนิยามดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการฝากทรัพย์แยกพิจารณาได้ 3 ประการคือ

1. เป็นสัญญา คือมีการตกลงกันของบุคคลได้แก่ผู้ฝากและผู้รับฝาก โดยมีวัตถุประสงค์

เป็นการฝากทรัพย์

2. ผู้ฝากส่งมอบทรัพย์สินให้ผู้รับฝาก เพียงแต่มีเจตนาตกลงกันของคู่สัญญาสอง

ฝ่ายจะไม่มีผลเป็นสัญญาฝากทรัพย์แต่อย่างใด ผู้ฝากจะต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ฝากให้แก่ผู้รับฝากด้วย การส่งมอบทรัพย์สินที่ฝาก เป็นการมอบการครอบครองทรัพย์สินจากผู้ฝากไปยังผู้รับฝาก ไม่ใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินแต่อย่างใด และจะส่งมอบโดยตรงหรือโดยปริยายก็ได้เพื่อให้ผู้รับฝากได้ครอบครองทรัพย์สิน

ฎ 685/2521และ1616/2519 กรมป่าไม้ทำสัญญาจ้างผู้รับจ้างเฝ้ารักษาป่าไม้ของกลาง ซึ่งเจ้าพนักงานป่าไม้จับได้และยังคงอยู่ที่ตอที่ถูกตัดโค่นในป่าระบุชื่อ สัญญาจ้างเฝ้ารักษา มีข้อสัญญาว่า ผู้รับจ้างยอมรับเฝ้าไม้ของกลางโดยคิดค่าจ้างเป็นรายท่อนต่อเดือน นับจากวันทำสัญญา ถ้าไม้ซึ่งรับจ้างเฝ้าขาดหรือหายหรือเป็นอันตรายระหว่างเวลาที่ผู้รับจ้างรับผิดชอบเฝ้ารักษา กรมป่าไม้ผู้จ้างอาจขนไม้ของกลางทั้งหมดหรือแต่บางส่วนไปจากที่เดิมเวลาใดก็ได้ แต่ต้องแจ้งให้ทราบ สัญญานี้เป็นสัญญาจ้างแรงงาน มิใช่สัญญาฝากทรัพย์เพราะอำนาจการครอบครองไม้ของกลางยังอยู่แก่กรมป่าไม้ผู้จ้าง ผู้รับจ้างเพียงเฝ้าระวังไม่ให้มีผู้ใดมาลักหรือเกิดภัยพิบัติ ไม้ของกลางยังอยู่ในป่าตามเดิม ผู้รับจ้างมิได้ชักลากไปเก็บไว้ในอารักขา

สินสอด

ส่วนสินสอดนั้น ต้องมีลักษณะสำคัญดังนี้

1. สินสอดต้องเป็นทรัพย์สินเช่นเดียวกับของหมั้น

2. สินสอดต้องเป็นสิ่งที่ฝ่ายชายให้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองของหญิงซึ่งมิได้ให้แก่ตัวหญิงเองอย่างของหมั้นเจตนารมณ์ของกฎหมายมุ่งไปที่ตัวพ่อแม่ ผู้ปกครองของหญิงหากหญิงไม่มีตัวบุคคลดังกล่าวอยู่แล้วแม้จะมีการตกลงกันให้มอบทรัพย์สินนั้นแก่หญิงเองก็ไม่ทำให้ทรัพย์สินนั้นเป็นสินสอดไปได้และสินสอดที่ตกลงให้กันนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องส่งมอบให้แก่ฝ่ายหญิงทันทีอย่างของหมั้นเพียงแต่ตกลงที่จะให้หรือจะนำมาให้ภายหลังก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้ทรัพย์สินดังกล่าวเป็นสินสอดที่ทำให้ฝ่ายหญิงมีสิทธิเรียกร้องได้

3.สินสอดต้องเป็นทรัพย์สินที่ให้เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรสด้วยซึ่งต้องกินความถึงขนาดที่จะต้องมีการจดทะเบียนสมรสกันตามกฏหมายแต่ไม่ใช่การให้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองของหญิงที่ให้ความยินยอมในกรณีที่หญิงยังเป็นผู้เยาว์

สินสอดเมื่อให้แล้วจะตกเป็นสิทธิของพ่อแม่ผู้ปกครองของหญิงทันทีแม้ชายหญิงจะยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันก็ตามเพียงแต่ฝ่ายชายอาจเรียกสินสอดคืนได้ถ้าการสมรสไม่มีขึ้นเพราะตัวหญิงเองเป็นต้นเหตุหรือเป็นเหตุที่ฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ซึ่งในกรณีนี้รวมไปถึงพ่อแม่ผู้ปกครอง ที่เป็นเหตุให้ไม่มีการสมรสขึ้นถึงอย่างไรก็ตามชายหญิงจะทำการหมั้น หรือการสมรสกันโดยไม่มีสินสอดก็ได้เพียงแต่ว่าหากมีการตกลงให้สินสอดกันแล้ว พ่อแม่ผู้ปกครองของหญิงเท่านั้นมีสิทธิเรีนกเอาสินสอดดังกล่าวได้

จากลักษณะสำคัญของทั้งสินสอดและของหมั้นดังกล่าวจะทำให้สามารถเห็นภาพของสินสอดและทองหมั้น (ของหมั้น)ในทางกฎหมายได้ดียิ่งขึ้นมากกว่าความเข้าใจในแบบจารีตประเพณีทั่วไปซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะทำให้เกิดสิทธิตามสัญญาหมั้นแก่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงที่จะเรียกร้องหรือเรียกคืนสินสอดและของหมั้นระหว่างกันได้เท่านั้นแต่การทำสัญญาหมั้นไม่ได้เป็นเงื่อนไขของการสมรสว่าจะต้องมีการหมั้นก่อนแต่ประการใดแม้ว่าการให้ของหมั้นนั้นจะเป็นการให้เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกันหรือการให้สินสอดที่เป็นการให้ไว้เพื่อตอบแทนการที่หญิงยินยอมสมรสก็ไม่ได้หมายความว่าหากมีการผิดสัญญาคือไม่มีการสมรสเกิดขึ้นแล้วจะมีใครไปบังคับให้ชายหญิงต้องสมรสกันได้ซึ่งหากมีการบังคับกันจริงการสมรสนั้นก็ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายเพราะการสมรสจะเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ได้ชายหญิงต้องยินยอมเป็นสามีภรรยากันเท่านั้นดังนั้นความยินยอมในทางกฎหมายหรือความรักตามหลักความเป็นจริงจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สอดคล้องกันอันจะทำให้การสมรสของชายและหญิงเกิดขึ้นได้โดยสมบูรณ์