วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สัญญาการจ้างและจ้างทำของ

กฎหมายจ้างแรงงานและกฎหมายจ้างทำของ

กฎหมายจ้างแรงงาน

ตามหลักกฎหมายจ้างแรงงานมาตรา 586 แยกเป็น 2 ฝ่ายคือ นายจ้างกับลูกจ้าง

นายจ้าง คือ ผู้ตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายเงินค่าจ้างเป็นสินทดแทน

ลูกจ้าง คือ ผู้ที่ได้รับเข้าทำงานตามที่นายจ้างมอบหมาย

ลักษณะการจ้างนั้น นายจ้างสามารถที่จะบังคับ บัญชา และสั่งการลูกจ้างได้ ส่วนในการจ่ายค่าตอบแทนการจ้างแรงงานนั้นต้องเป็นเงินของนายจ้างนำมาให้แก่ลูกจ้าง แต่ถ้าเป็นเงินของบุคคลอื่นที่มิใช่เงินของนายจ้าง แม้ว่าจะนำมาจ่ายให้แก่ลูกจ้างก็ไม่ถือว่าเป็นค่าจ้าง

ฎีกาที่ 4032 / 2524 เงินเพิ่มตามวุฒิและค่าครองชีพที่ครูของโรงเรียนเอกชนได้รับนั้นจ่ายจากกระทรวงศึกษาธิการไม่ใช่นายจ้าง เพราะไม่ใช่เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ส่วนเรื่องระยะเวลาการจ้างนั้นจะมีการทำสัญญาการจ้าง ว่านานเท่าไร กี่ปี กี่เดือน สามารถที่จะระบุ หรือกำหนดว่า เป็นลูกจ้างประจำ รวมไปถึงหน้าที่ในข้อนี้ด้วย นายจ้างจะต้องปฏิบัติตามขอกฎหมายแรงงานด้วย

จากข้างต้นที่พูดไปแล้วเป็นสิทธิและหน้าที่ของลูกจ้างมาพูดถึงนางจ้างกับบ้าง นายจ้างมีหน้าที่จ่ายเงินให้แก่ลูกจ้าง และต้องจ่ายค่าจ้างตามที่ตกลงกันไว้ รวมไปถึงนายจ้างสามารถที่จะออกใบผ่านงานให้แก่ลูกจ้าง

มอบหมายงานให้แก่ลูกจ้างทำ ดูผลของงานและออดระเบียบการ แต่อย่างไรนั้นก็ต้องอยู่ใต้กฎหมายด้วย

การบอกเลิกสัญญาการจ้าง คือ ขึ้นอยู่กับลูกจ้างและนายจ้างได้ทำสัญญากันไว้ โดยมีเอกสารเป็นตัวกำหนดสัญญานั้น

การจ้างทำของ

ลักษณะของการจ้างทำของคือ ทั้งสองฝ่ายต้องตกลงกันในการทำสัญญา ที่เป็นเอกสารกำกับ เช่น

ฎีกาที่ 3497/2528 บ้านโจทย์ชำรุดเกิดการเสียหายการก่อสร้างแบบหลักหลวม ซึ่งเป็นผลการกระทำของจำเลย จำเลยต้องรับผิดชอบ

การระงับสัญญาการจ้าง กรณีที่นายจ้างกระทำผิดต่อสัญญา ไม่หาสัมภาระตามที่กำหนด ผู้รับจ้างสามารถบอกเลิกจ้างได้

กรณีที่สอง ผู้รับจ้างต้องการจะเลิกจ้างสัญญาแม้ผู้ว่าจ้างจะไม่ผิดสัญญาหากได้จ่ายค่าสินไหมทดแทน ความเสียหายในเรื่องเกิดการจ้าง ในมาตรา 605

OK นัดดา

วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2552

บทความ Happy Birthday


เรียงความเรื่อง Happy Birthday

ในละครเรื่องนี้ เป็นเรื่องที่น่าประทับใจมาก ไม่ว่าจะเป็นการเกิ่นบทนำของเรื่อง รวมไปถึงความรู้สึกของตัวบุคคลด้วย ความรู้สึกของความรัก ความผูกพัน และความรู้สึกที่ดีที่มีให้แก่กัน ทำให้โลกใบนี้มีความน่าอยู่มากขึ้นด้วย

ในเรื่องดังกล่าวนี้ จะมีข้อความของกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดยเรื่องย่อนั้นมีอยู่ว่า วันนั้นเป็นวันเกิดของพระเอก โดยพระเอกนัดนางเอกมาที่ร้านอาหาร นางเอกนั้นได้โทรคุยโทรศัพท์ แต่ทันใดนั้นนางเอกก็ถูกรถชน ต้องเข้าโรงพยาบาลอยู่ที่ห้อง ไอ ซี ยู โดยแพทย์ได้ตรวจ นางเอกไม่สามารถรับรู้เรื่องราวทุกสิ่งทุกอย่าง และจำความไม่ได้เลย ซึ่งศาลได้ตัดสินว่าบุคคลผู้นี้ได้ตายไปแล้วโดยก้านสมองไม่ทำงาน โดยหลักทางกฎหมายนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องแน่นอน คือ บุคคลไม่สามารถรับรู้ เป็นบุคคลที่ตายแล้ว เพราะถ้าไม่มีเครื่องมือทางการแพทย์เข้ามาช่วยก็ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ และตอนสุดท้ายพระเอกก็แพ้คดีความดังกล่าว ตอนจบเรื่องนางเอกและพระเอกก็ได้อยู่ด้วยกันจนแก่ เถ้า หนังเรื่องนี้ได้สร้างความประทับใจให้แก่คนดูเป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตามในทางกฎหมายแล้วจะไม่นับเอาความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

เรื่องนี้จึงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในปัจจุบัน ว่าจะออกกฎหมายอย่างไร สามารถที่จะใช้ความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้องได้ไหม โดยการใช้คำว่าแฟน สามารถมีสิทธิเท่าเทียมกับสามี หรือ ภรรยา มาดูแล และสามารถที่จะตัดสินในเรื่องทางการแพทย์ได้ ก็ต้องรอติดตามกันต่อไป ตามพระราชบัญญัติสุขภาพ

มาตรา24 บุคคลที่มีสิทธิความแสดงความจำนงเกี่ยวกับวิธีรักษาพยาบาลหรือปฎิเสธการรักษาที่เป็นไปเพื่อการยืดชีวิตในวาระสุดท้ายของตัวเอง เพื่อการตายอย่างสงบและมีศักดิ์ศรีของมนุษย์

ซึ่งข้อกฎหมายนี้ ขึ้นอยู่กับครอบครัวของบุคคล คนนั้นสามารถที่จะแสดงความคิดเห็นด้วยหรือไม่ในการรักษาพยาบาลนี้

วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การบ้าน บทความ

แต่งงานแล้วเฮ้ จะใช้ น หรือ น.ส ตามใจคุณ
ในสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องสิทธิ เสรีภาพ ของ ชายและ หญิง ซึ่งกฎหมายสมัยใหม่มีการเปลี่ยนแปลง ในเรื่องการใช้คำนำหน้านาม คือ น กับ นางสาว ซึ่งผู้หญิงที่แต่งงานแล้วสามารถที่จะใช้นางสาวได้ โดยไม่ต้องเปลี่ยนคำนำหน้านาม ทำให้ผู้หญิงและผู้ชายมีสิทธิเท่าเทียมกันในเรื่องนี้
ในสมัยก่อนนั้น ผู้หญิงที่แต่งงานและจดทะเบียนสมรส จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนคำนำหน้านามจาก นาง เป็น นางสาว แต่สมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งต่างจากสมัยก่อนไปอย่างสิ้นเชิง โดยการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติกฎหมายครอบครัว ทำให้สิทธิเสรีภาพ ชาย และ หญิงมีความเท่าเทียมกัน ซึ่งไม่มีข้อจำกัดใด นอกจากกฎหมายเป็นผู้กำหนดขึ้นมา
ผู้หญิงบางกลุ่มมีความพึงพอใจในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เพราะในการเปลี่ยนคำนำหน้านามก็มีผลกระทบต่อผู้หญิงในสังคมสมัยนี้ได้ ยกตัวอย่างเช่น
- ในเรื่องของการสมัครงานระหว่าง นาง หรือ นางสาว
- ความไม่เท่าเทียมกันในสังคม ผู้หญิงและผู้ชาย
- การเปลียนแปลงเอกสารทางราชการ ยุ่งยาก
- ความรู้สึกในจิตใจของผู้หญิง
ซึ้งในลักษณะดังกล่าวที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เป็นข้อเปรียบเทียบของจากการเปลี่ยนจาก นาง เป็น นางสาว โดยหลักการทางกฎหมายมีข้อสรุปได้ดังนี้
มาตรา 4 หญิงซึ่งมีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้ใช้คำนำหน้านามว่า นางสาว
มาตรา 5 หญิงที่จดทะเบียนสมรสแล้ว จะใช้คำนำหน้านามว่า งาน หรือ นางสาว ได้ตามความสมัครใจ โดยให้แจ้งต่อนางทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว
มาตรา 6 หญิงที่จดทะเบียนสมรสแล้ว หากต่อมาการสมรสได้สิ้นสุดลงจะใช้คำนำหน้านามว่า นาง หรือ นางสาว ได้ตามความสมัครใจ โดยให้แจ้งต่อนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว