วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การเช่าซื้อ

ผู้เช่าซื้อมีสิทธิและหน้าที่อย่างไร

ตัวอย่าง นาย ก. เช่าซื้อรถยนต์จากนาย ข. ในราคา 120,000 บาท ตกลงชำระค่าเช่าซื้อเดือนละ 1 หมื่นบาทเป็นเวลา 12 เดือน นาย ก.ใช้รถยนต์ ได้ 5 เดือน โดยผ่อนชำระค่าเช่าซื้อไป 5 งวด เกิดเบื่อรถยนต์คันที่ตนเช่าซื้อจึงได้ส่งมอบรถยนต์คืนให้แก่นาย ข. เช่นนี้ กฎหมายถือว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นอัน ระงับสิ้นไปเพราะการที่นาย ก. ส่งมอบรถยนต์คืนให้แก่นาย ข. เหตุที่กฎหมายกำหนดให้สิทธิแก่ผู้เช่าซื้อที่จะบอกเลิกสัญญาเมื่อใดก็ได้ ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินก็เพราะสัญญาเช่าซื้อได้กำหนดค่าเช่าซื้อจากค่าเช่าบอกราคา ทรัพย์สินนั้นเข้าไปด้วย จึงมีราคาสูงกว่าค่าเช่าทรัพย์สินธรรมดาตามสัญญาเช่าทั่วไป ผู้เช่าซื้อจึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเมื่อใดก็ได้แต่ทั้งนี้ผู้เช่าซื้อจะต้อง เสียค่าใช้จ่ายในการส่งมอบทรัพย์สินคืนแก่เจ้าของเอง
หน้าที่และความรับผิดของผู้เช่าซื้อ
1. ต้องใช้ทรัพย์สินที่เช่าซื้อตามปกติหรือตามข้อตกลงในสัญญา
2. ต้องสงวนทรัพย์สินที่เช่า เช่น วิญญูชนจะพึงสงวน
3. ต้องยอมให้ผู้ให้เช่าซื้อเข้าตรวจดูทรัพย์สินที่เช่าซื้อ
4. ต้องยอมให้ผู้ให้เช่าซื้อซ่อมแซมทรัพย์สินที่เช่าซื้อ
5. ต้องแจ้งเหตุอันตรายแก่ทรัพย์ให้ผู้ให้เช่าได้รับรู้โดยทันที
6. ต้องไม่ดัดแปลงต่อเติมทรัพย์สินที่เช่า
7. ต้องชำระค่าเช่าซื้อเป็นเงินจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว
8. ต้องรับการโอนกรรมสิทธิในทรัพย์สินซึ่งเช่าซื้อจากผู้ให้เช่าซื้อ
9. ต้องรับผิดในความสูญหายหรือบุบสลายอย่างใด ๆ อันเกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินที่เช่าเพราะความผิดของผู้เช่าเองหรือผู้เช่าช่วง
ฎีกาที่ 4601/2533สัญญาเช่าซื้อ เป็นสัญญาเช่าทรัพย์ประเภทหนึ่ง เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย สัญญาเช่าซื้อ ย่อมระงับไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 567 ทั้งโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อ ก็มีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยผู้เช่าซื้อแล้ว สัญญาเช่าซื้อ จึงเลิกกัน จำเลยไม่ต้องชำระค่าเช่าซื้อ ที่ค้างชำระต่อไป แม้ตามสัญญาเช่าซื้อ จะระบุให้จำเลยชำระเงินค่าเช่าซื้อจนครบ ในกรณีทรัพย์สินที่เช่าซื้อ ถูกโจรภัยก็ตาม แต่เมื่อจำเลย ไม่ต้องชำระค่าเช่าซื้อต่อไป ก็ถือได้ว่า จำเลยได้ตกลงชำระค่าเสียหาย เท่ากับค่าเช่าซื้อ ที่ค้างให้แก่โจทก์ ในกรณีนี้ ซึ่งมีลักษณะ เป็นเบี้ยปรับที่ศาล มีอำนาจลดหย่อนลงได้ หากเป็นว่า กำหนดไว้สูงเกินควร
10. ต้องรับผิดในการออกค่าใช้จ่ายเพื่อการบำรุงรักษาทรัพย์ตามปกติและการซ่อมแซม



วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

กฎหมายเกี่ยวกับการเช่า

สัญญาเช่าห้องพักอาศัย
มาตรา 573 ผู้เช่าจะบอกเลิกสัญญาในเวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ ด้วยส่งมอบทรัพย์สินกลับคืนให้แก่เจ้าของโดยเสียค่าใช้จ่ายของตนเอง
มาตรา 574 ในกรณีผิดนัดไม่ใช้เงินสองคราวติด ๆ กัน หรือ กระทำผิดสัญญาในข้อที่เป็นส่วนสำคัญเจ้าของทรัพย์สินจะบอกเลิก สัญญาเสียก็ได้ ถ้าเช่นนั้นบรรดาเงินที่ได้ใช้มาแล้วแต่ก่อน ให้ริบ เป็นของเจ้าของทรัพย์สิน และเจ้าของทรัพย์สินชอบที่จะกลับเข้า ครองทรัพย์สินนั้นได้ด้วย

สัญญาการเช่าทรัพย์
1. สัญญา ผู้ให้เช่า ตกลงให้ผู้เช่า ได้อาศัยอยู่ ชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด และผู้เช่าตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น
2. ศัญญาการเช่ามีดังนี้ -เป็นสัญญาต่างตอบแทน -ผู้เช่ามีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ที่เช่านั้น -ผู้เช่าตกลงให้ค่าเช่า เพื่อตอบแทนการใช้ทรัพย์สิน
3. ผู้เช่าไม่สามารถครอบครองทรัพย์สินนั้นได้ เมือ่ครบกำหนดการเช่าแล้ว ผู้เช่ามีหน้าที่ต้องส่งคืนทรัพย์สินตามสัญญาที่กำหนดต่อผู้ให้เช่า